ตามที่โครงการยูเอชวีของบริษัท
ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือไออาร์พีซี ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างเริ่มเดินเครื่องจักร โดยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม
2559 เวลาประมาณ 10.00 น. บริษัทฯ ได้เริ่มนำน้ำมันหนักเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้มีแสงสว่างและเสียงที่หอเผาเป็นระยะ บริษัทฯ
ได้เตรียมมาตรการป้องกันและ
ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ มาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอด
24 ชั่วโมง โดยจัดให้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบเขตประกอบการฯ
จำนวน 6
สถานี และตรวจวัดคุณภาพอากาศในจุดที่เฝ้าระวังพิเศษ จำนวน 3 สถานี ตรวจวัดระดับเสียงในพื้นที่ชุมชนในรัศมี 1 - 2 กิโลเมตร และหลีกเลี่ยงการเดินกระบวนการผลิตที่จะทำให้เกิดเสียงในช่วงเวลากลางคืน
รวมถึงการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และจุดระบายน้ำทิ้งของเขตประกอบการฯ เป็นประจำทุกสัปดาห์
มาตรการป้องกันด้านสุขภาพอนามัยในชุมชน บริษัทฯ ได้จัดให้มีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พิเศษ เพิ่มเติมจากการออกหน่วยแพทย์ปกติ
จำนวน 7
วัน ตั้งแต่วันที่ 16 - 25 มีนาคม 2559 ในช่วงเวลา 08.30 - 12.00 น. ณ
ชุมชนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- 16 มีนาคม 2559 ศาลาจำหน่ายสินค้าการเกษตร หมู่ที่ 1 ตำบลนาตาขวัญ
- 17 มีนาคม 2559 โรงเรียนระยองปัญญานุกูล ตำบลบ้านแลง
- 21 มีนาคม 2559 รพ.สต.บ้านก้นหนอง ตำบลบ้านแลง
- 22 มีนาคม 2559 ศาลาศาลเจ้าพ่อ บ้านชากใหญ่ ตำบลเชิงเนิน
- 23 มีนาคม 2559 ศาลาผู้สูงอายุ
หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแลง
- 24 มีนาคม 2559 ณ ศาลาเอสเอ็มแอล หมู่ที่ 16 ตำบลตะพง
- 25 มีนาคม 2559 รพ.สต. หนองจอก หมู่ที่ 1 ตำบลเชิงเนิน
มาตรการรับเรื่องร้องเรียนและประสานงานระหว่างชุมชนกับโรงงาน โดยจัดตั้งทีมดำเนินงานร่วมระหว่างชุมชนและบริษัทฯ
ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ประสานงานและเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมภาคสนามในชุมชนบ้านก้นหนอง
ตำบลบ้านแลง และบ้านหนองตาโพ ตำบลเชิงเนิน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังกรณีเกิดภาวะฉุกเฉิน
บริษัทฯ ตระหนักถึงความปลอดภัย
ผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ จึงใคร่ขอเรียนชี้แจงมายังชุมชน บริษัท
ห้างร้าน หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ตลอดจนสื่อมวลชน ได้ทราบถึงแผนการดำเนินงานและผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงการเริ่มเดินเครื่องจักร
ทดสอบและปรับแต่งที่คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ทั้งนี้ บริษัทฯ
จะพยายามดำเนินการให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด จึงใคร่ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ หากท่านมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามรายละเอียดได้จากเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานภาคสนาม
หรือศูนย์ควบคุมภาวะฉุกเฉินไออาร์พีซี หมายเลขโทรศัพท์ 1800 – 800 - 008 หรือ 038 – 802 - 560 ตลอด 24
ชั่วโมง
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น