จัดสัมมนาความขัดแย้ง



สภาพัฒนาการเมืองจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ"ความขัดแย้งแตกแยกในสังคม สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข"


เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่โรงแรมโกลเด้นซิตี้ระยอง ถนนสุขุมวิท อ.เมืองระยอง  สภาพัฒนาการเมืองจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ"ความขัดแย้งแตกแยกในสังคมทยปัจจุบัน -สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข"โดย  ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์  ประธานสภาพัฒนาการเมือง วิทยากรบรรยายประกอบด้วย นายสุพจน์ เลียดประถม สมาชิกวุฒิสภา จ.ตราด  นายปรัชญา สมะลาภา  ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าระยอง ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและนายชาติชาย เหลืองเจริญ ประธานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านจำรุง อ.แกลง จ.ระยอง โดยมีนายวันชัย แสงสุขเอี่ยม รองประธานกรรมการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีคนที่ 1 มีประชาชนจากภาคตะวันออกเข้าร่วมสัมมนา

นายสุพจน์ เลียดประถม สว.จ.ตราด กล่าวในตอนหนึ่งว่าปัจจุบันสังคมไทยเกิดความแตกแยกร้าวลึกจริงโดยเฉพาะเรื่องการทุจริตจะครอบคลุมไปทั้งหมดรวมไปถึงการเลือกตั้ง ทุจริตทางด้านการเมือง การทุจริตเป็นยาดำแทรกซึมอยู่ในทุกวงการ ท่านทราบไหมว่างบประมาณปี 57 จำนวน 2.525 ล้านล้านบาท จะถึงมือประชาชนสักกี่บาท  30 % เป็นเรื่องที่ธรรมดามาก 30% ของงบประมาณแผ่นดินมีรายงานของคณะกรรมการป.ป.ช.เข้าสู่การพิจารณาของสภามีเรื่องร้องเรียนนับหมื่นเรื่อง มีเรื่อตกค้างเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความล่าช้า  เพราะฉะนั้นคนที่โกงกินทุกวันนี้ก็ยังประพฤติอยู่ การทุจริตเป็นสาเหตุที่สำคัญในการที่จะสร้างความแตกแยกขึ้นในสังคม จริงๆแล้วไม่ว่ารัฐบาลยุคไหนถ้ามุ่งมั่นที่จะทำงานโดยละเลิกการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความขัดแย้งในสังคมจะลดน้อยลง

 ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์  ประธานสภาพัฒนาการเมือง เปิดแถลงข่าวว่าการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ครั้งแรกจัดที่ จ.เชียงใหม่ ครั้งที่สองจ.อุดรธานี ครั้งที่ สาม จ.พระนครศรีอยุธยาและจ.ระยองเป็นครั้งที่ สี่ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจะแบ่งประเด็นที่ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็น 2 ประเภท 1.การศึกษาในเชิงปริมาณในการส่งแบบสอบถามให้ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 2.เรื่องคุณภาพจะมีการแบ่งกลุ่ม คือกลุ่มด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการระดมสมองจากทุกกลุ่มและจะมีการรวบรวมข้อมูลกันอีกครั้ง

ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์  กล่าวว่าการจัดสัมมนาที่จ.เชียงใหม่ เรื่องที่ 1 สาเหตุหลักการขัดแย้งในประเทศ 2.แนวทางในการปรองดองที่เหมาะสม มีผู้ตอบแบบสอบถามสาเหตุหลักการขัดแย้งคือการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองอันดับ 1มีค่าเฉลี่ยที่ 4.48  อันดับ 2 ความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีค่าเฉลี่ยที่ 4.32 อันดับ 3 เรื่องการเลือกปฏิบัติโครงสร้างของกฏหมายมีค่าเฉลี่ยที่ 4.30 อันดับ 4 แนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ย 4.22 อันดับ 5 โครงสร้างเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยที่ 4.18และอันดับสุดท้ายคือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกันค่าเฉลี่ย 4.16 สรุปสาเหตุหลักอันดับ 1คือการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง ส่วนแนวทางการปรองดองส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้ผู้ขัดแย้งทุกฝ่ายกำหนดแนวทางการปรองดองร่วมกันค่าเฉลี่ยที่ 4.44  เรื่องการนิรโทษกรรมในคดีการชุมนุมทางการเมืองค่าเฉลี่ย 4.08

ส่วนการจัดสัมมนาที่ จ.อุดรธานี สาเหตุหลักเหมือนกับที่ จ.เชียงใหม่คือการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา สาเหตุหลักเหมือนกับจ.เชียงใหม่และจ.อุดรธานี คือการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง สำหรับที่ จ.ระยองมีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 40 คน สาเหตุหลักความขัดแย้งอันดับ 1 คือการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองเช่นกันค่าเฉลี่ย 4.68 รองลงมาแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองค่าเฉลี่ย 4.30 ความเหลื่อมล้ำโครงสร้างทางสังคม 4.28 การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติไม่เท่าเทียมกัน 4.25 โครงสร้างเศรษฐกิจไม่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่4.24 เลือกปฏิบัติในโครงสร้างของกฏหมาย 4.18 สำหรับแนวทางการปรองดองจ.ระยองมีความแตกต่างไปจากทุกภาคคืออันดับ 1 ต้องวางโครงสร้างและรากฐานของประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมค่าเฉลี่ย 4.20



ศ.ดร.ธีรภัทร์  ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวสรุปว่าจากการสำรวจในเชิงปริมาณอันดับ 1 สาเหตุหลักเหมือนกันทั้ง 4 จังหวัด ภาคเหนือ  ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก เรื่องการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง ส่วนแนวทางการปรองดอง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือให้คู่ขัดแย้งกำหนดแนวทางปรองดองร่วมกัน ภาคกลางให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ส่วนภาคตะวันออกให้ความสำคัญการวางโครงสร้างและรากฐานของประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม.

About แอดมิน

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.

ผู้สนับสนุน