SCG เอสซีจีร่วมกับสถาบันปาสเตอร์ฝรั่งเศลวิจัยนวัตกรรมกับดักยุงลายและส่งมอบนำร่องแก่ชุมชนบ้านบนและชุมชนตลาดมาบตาพุด




โอ้โห!>>เอสซีจี เล็งเห็นความสำคัญยกระดับคุณภาพด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน..นำนวัตกรรมกับดักยุงลายหรือThe Mosquito Trap นำร่องทดลองที่ชุมชนตลาดมาบตาพุด และชุมชนบ้านบน จ.ระยอง จำนวน 50 ครัวเรือน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค.63 ณ ห้องประชุม ชั้น2 ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง นายถวิล โพธิบัวทอง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นประธานรับมอบนวัตกรรมใหม่ กับดักยุงลาย โดยมี ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ดูแลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดร.อภิวัฏ ธวัชสินผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นางกาญจนา เตลียะโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมาบตาพุด นางสาวน้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแบรนด์ และกิจการเพื่อสังคม ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และประธานชุมชนมาบตาพุด อสม. และสื่อมวลชนร่วมงาน



ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ดูแลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า สำหรับ ปัญหาโรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออก ถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย เนื่องจากยุงลายซึ่งเป็นพาหะสมารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและแพร่กระจายโรคได้อย่างกว้างขวาง โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความรุนแรง จนถึงขั้นที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ เอสซีจี มีจุดยืนด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับชุมชน โดยความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ของเรามาปรับใช้ เช่น การออกแบบกับดักยุงลาย และสารยับยั้งการแพร่พันธุ์นี้ เราก็ได้นำความความเชี่ยวชาญค้นวัสดุศาสตร์และการออกแบบมาใช้ในการพัฒนาตัวกับดักยุงลาย และนำเอาความเชี่ยวชาญ มาใช้ในการวิจัยและพัฒนาสารเติมแต่งพิเศษ เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสารที่ในการยับยั้งการเติบโตของลูกน้ำไปเป็นยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะสำคัญในการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก







ล่าสุด เอสซีจี ได้นำร่องทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมกับดักยุงลาย ในส่วนของ “ยุงลายบ้าน” ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตชุมชนและครัวเรือน โดยได้รับความร่วมมือจากเทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง ในการนำนวัตกรรม ดังกล่าวไปทดสอบใช้จริงในพื้นที่ชุมชนตลาดมาบตาพุดและชุมชนบ้านบน จำนวนกว่า 50 ครัวเรือน ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลรวม 3 เดือน เพื่อนำไปพัฒนากับดักยุงลายก่อนที่จะเผยแพร่ใช้งานต่อไป โดยก่อนหน้านี้ได้ทดสอบการใช้งานนวัตกรรมกับดักยุงลายทั้งในห้องทดลองและภาคสนาม จำนวน 200 ชุด โดยวิจัยภาคสนามที่ จ.จันทบุรี ซึ่ง มียุงลายสวน ชุกชุมตลอดปี เนื่องจากเป็นพื้นที่สวนป่าใกล้ที่พักอาศัย ซึ่งได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

About แอดมิน

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.

ผู้สนับสนุน