GC ร่วมกับ
ทม.มาบตาพุด และ มจธ. จัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน
ช่วยเกษตรกรชาวสวนระยองรับมือภัยแล้ง
น้ำท่วม และน้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่การเกษตร
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกับเทศบาลเมืองมาบตาพุด
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน “มาบตาพุด
รวมใจ ฝากน้ำไว้กับแผ่นดิน” ภายใต้โครงการ GC
รวมพลังรักษ์น้ำ เพื่อช่วยบรรปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
รวมทั้งป้องกันน้ำท่วมและปัญหาน้ำเค็มจากทะเลรุกเข้าพื้นที่การเกษตร โดยนำร่องที่ชุมชนกรอกยายชาและชุมชนหนองแตงเม
นายอนุทิน ช่วยเพ็ญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
กลุ่มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ บริษัท พีทีที
โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “GC ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำของชุมชนในจังหวัดระยองเป็นอย่างมาก
ช่วงต้นปี 2563 จึงได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับเทศบาลเมืองมาบตาพุด
ซึ่งพบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ชุมชนโซนมาบตาพุดประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง
ฤดูร้อน เนื่องจากฝนตกน้อยลง ทาง GC และเทศบาลฯ
จึงได้ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ เริ่มจัดทำธนาคารน้ำ
ใต้ดินเป็นปีแรกรวม 18 บ่อ
และเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารน้ำฯ ที่จัดทำขึ้น จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงประสานกับ มจธ. เพื่อให้ช่วยแนะนำวิธีการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน ตลอดจนการติดตามวัดผลที่ถูกต้องและต่อเนื่อง”สำหรับการคัดเลือกพื้นที่นำร่องเพื่อจัดทำธนาคารน้ำฯ
คุณวรรณธิดา แสนศิริ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน กองสวัสดิการสังคม
เทศบาลเมืองมาบตาพุด ให้ข้อมูลว่า “เทศบาลฯ
เสนอให้เริ่มจัดทำในพื้นที่ชุมชนกรอกยายชาและหนองแตงเมก่อน
เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนมะม่วงและพุทรา ทั้ง 2 ชุมชนจึงได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำมากกว่าชุมชนอื่นๆ
โดยในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา หลายสวนมีปริมาณผลผลิตลดลง
และยังพบต้นมะม่วงยืนต้นตายเป็นครั้งแรก” นอกจากปัญหา
ขาดแคลนน้ำ ดร.ปริเวท วรรณโกวิท
หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGeo) มจธ. ยังเสริมว่า “จากการศึกษาแผนที่ธรณีวิทยาและแผนที่น้ำบาดาลของจังหวัดระยอง
พบว่าชุมชนกรอกยายชาและหนองแตงเมกำลังประสบปัญหาน้ำเค็มรุกเข้าสู่ใต้ดิน
ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดความเสียหายกับต้นไม้ในสวนเป็นจำนวนมาก”
“ธนาคารน้ำฯ ที่จัดทำครั้งนี้เป็นแบบระบบปิด ทำหน้าที่เป็นหลุมดักน้ำ และเป็นระบบที่ใช้พื้นที่ไม่มาก
จึงสามารถทำในบริเวณที่อยู่อาศัยได้ อีกทั้งยังมีการนำแผ่นใยสังเคราะห์
(Geotextile) มาช่วยกรองน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่ใต้ดิน
สำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะบริเวณสวนที่มีการจัดทำธนาคารน้ำฯ
เท่านั้น แต่จะเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ในวงกว้าง เพราะเมื่อน้ำไหลเข้าสู่ระบบธนาคารน้ำฯ
น้ำจะไหลลงไปเก็บไว้ที่ชั้นหินอุ้มน้ำ และแผ่ขยายไปยังบริเวณโดยรอบ
ซึ่งเมื่อสวนหลายแห่งทำธนาคารน้ำฯ ในพื้นที่ของตน
น้ำก็จะไหลเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย
จนสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่วงกว้าง สามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และช่วยผลักดันน้ำเค็มที่กำลังรุกล้ำเข้ามาในชั้นใต้ดินของพื้นที่มาบตาพุดได้”
ดร.ปริเวท วรรณโกวิท กล่าวการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ
GC รวมพลังรักษ์น้ำ
ซึ่งโครงการดังกล่าวได้มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ชุมชน
ตลอดจนสนับสนุนให้ชุมชนและโรงเรียนมีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภค
โดยเน้นดำเนินการในจังหวัดระยองก่อน แล้วจึงขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ
โดยตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ การจัดทำแนวป้องกันตลิ่งพังที่คลองตายาย
ชุมชนเจริญพัฒนา การสร้างฝายแก้มลิงดักตะกอนทรายบริเวณลำน้ำเหนือวัดซอยคีรี
การจัดทำฝายชะลอน้ำที่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง
รวมถึงการสนับสนุนระบบน้ำดื่มสะอาดให้แก่โรงเรียนในจังหวัดระยองจำนวน 4 โรงเรียน ครอบคลุม 4 อำเภอ
ซึ่งทุกกิจกรรมภายใต้โครงการ GC รวมพลังรักษ์น้ำ
จะยึดหลักการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม ส่งผลให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะชุมชนเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำ และใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
อันนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น