(ส.ปชส.ตราด)จ.ตราด ร่วม ม.มหิดล ศึกษาหาทางป้องกันปัญหาโรคไข้เลือดออกในแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นำร่องในพื้นที่เกาะช้าง
วันที่ 5 ก.ย. 2556 17:40:52 ) |
(5 ก.ย. 56) รศ.ดร.ปัทมาภรณ์ กฤตยพงษ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยพาหะและโรคที่นำโดยพาหะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมคณะเข้าหารือ นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เพื่อขอรับการสนับสนุนและตวามร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการดำเนินการวิจับ เพื่อหาแนวทางป้องกันปัญหาโรคไข้เลือดออกในแหล่งท่องเที่ยว เกาะช้าง จังหวัดตราด
หัวหน้าศูนย์วิจัยพาหะและโรคที่นำโดยพาหะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การดำเนินโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก Ecohealth ที่ดำเนินการนำร่อง 3 โครงการ คือ ที่นครปักกิ่ง และเซียงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน และที่ประเทศไทย ดำเนินการโดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการลงพื้นที่เกาะช้าง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศมาแล้ว ในเบื้องต้นพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของยุงลาย เช่น ปัญหาขยะ ปัญหาความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ หรือลักษณะการอยู่อาศัยของประชากรในพื้นที่ ที่มีจุดเด่น คือ มีทั้งประชากรชาวไทย และประชากรแฝงอย่างแรงงานต่างด้าว และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่พำนักระยะยาว โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านคลองพร้าว ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง ซึ่งเป็นจุดหลักที่ใช้ทำวิจัยในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามการดำเนินการวิจัยดังกล่าวจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านข้อมูลและสถิติต่าง ๆ มาประกอบการวิจัย ก่อนสร้างระบบป้องกันปัญหาที่มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนในการดำเนินการ
ด้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าว่า การเข้ามาดำเนินการวิจัยปัญหาดังกล่าวของมหาวิทยาลัยมหิดลในครั้งนี้นับเป็นสิ่งที่ดีของจังหวัดตราด ในการสร้างระบบป้องกันปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เนื่องจากในห้วงปีนี้พบว่าจังหวัดตราดมีอัตราการพบผู้ป่วยสูงไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกดังนั้นหากมีการสร้างระบบป้องกันภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถป้องกันปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป /...
|
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น