วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2562) นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในการแถลงสรุปผลงานครบ 1 ปีการขับเคลื่อนโครงการ
ความร่วมมือของภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ในการจัดการพลาสติกและขยะในจังหวัดระยอง
(โครงการ PPP Plastic)
พร้อมมุ่งสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนของระยอง ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ ระยอง
นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ระยองเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญ
ทั้งทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการเกษตรของประเทศ ส่งผลให้มีการขยายตัวของประชาชนตลอดจนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จังหวัดตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจังหวัดอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะมูลฝอย ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือของทุกภาคส่วน “โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน พื้นที่นำร่อง จังหวัดระยอง” หรือ โครงการ PPP Plastic ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือเมื่อวันที่ 18 เดือนธันวาคม 2561 มีการดำเนินการและขับเคลื่อนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเกือบ 1 ปี ที่ผ่านมา ภายใต้การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้เพื่อลดปริมาณขยะและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมการบริหารจัดการแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะ การลดและการคัดแยกขยะ การจัดทำระบบการแยกขยะและนำกลับมาใช้ประโยชน์ และการลดและการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single use plastic)
ทั้งทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการเกษตรของประเทศ ส่งผลให้มีการขยายตัวของประชาชนตลอดจนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จังหวัดตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจังหวัดอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะมูลฝอย ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือของทุกภาคส่วน “โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน พื้นที่นำร่อง จังหวัดระยอง” หรือ โครงการ PPP Plastic ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือเมื่อวันที่ 18 เดือนธันวาคม 2561 มีการดำเนินการและขับเคลื่อนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเกือบ 1 ปี ที่ผ่านมา ภายใต้การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้เพื่อลดปริมาณขยะและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมการบริหารจัดการแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะ การลดและการคัดแยกขยะ การจัดทำระบบการแยกขยะและนำกลับมาใช้ประโยชน์ และการลดและการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single use plastic)
“สิ่งที่สำคัญคือ การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนเรื่องการคิดก่อนใช้
แยกก่อนทิ้ง ช่วยให้การนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้สะดวกและง่ายขึ้น เพิ่มอัตราการรีไซเคิลขยะให้สูงขึ้น
และแก้ไขปัญหาขยะตกค้างในทะเลที่ต้นทางสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ด้วยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่อง 19 แห่ง
ส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ จะช่วยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้จังหวัดระยองเป็นจังหวัดต้นแบบโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่หลายๆ
พื้นที่ สามารถถ่ายทอดแบ่งปันให้แก่จังหวัดอื่น
เพื่อการเรียนรู้และเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์อย่างเป็นระลอกคลื่นที่ขยายตัวออกไป”
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
กล่าว
นายภราดร
จุลชาต ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดนำร่องการดำเนินโครงการ
PPP Plastic ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการจัดการปัญหาขยะและส่งเสริมให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
ได้พัฒนาความรู้และพฤติกรรมการใช้พลาสติกอย่างรับผิดชอบ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยลง
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ซึ่งคณะทำงานโครงการ PPP Plastic ได้ผนึกกำลังการทำงานจากทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระยอง 19 องค์กรเป็นต้นแบบดำเนินการในปี 2562 เพื่อการจัดการขยะทั่วไปและขยะพลาสติกตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ซึ่งคณะทำงานโครงการ PPP Plastic ได้ผนึกกำลังการทำงานจากทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระยอง 19 องค์กรเป็นต้นแบบดำเนินการในปี 2562 เพื่อการจัดการขยะทั่วไปและขยะพลาสติกตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. การจัดทำฐานข้อมูลของการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างเป็นระบบ
โดยมีการรายงานผลอย่างต่อเนื่องทุกๆ
2 เดือนจาก 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารจัดการขยะในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปริมาณของพลาสติกประเภทต่างๆ จากครัวเรือน ที่ยังไม่เคยมีการเก็บข้อมูลมาก่อน
2 เดือนจาก 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารจัดการขยะในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปริมาณของพลาสติกประเภทต่างๆ จากครัวเรือน ที่ยังไม่เคยมีการเก็บข้อมูลมาก่อน
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถคัดแยกขยะพลาสติกสะอาดเข้าระบบรีไซเคิล
ตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม
2562 ได้ประมาณ 220 ตัน ซึ่งมีปริมาณการดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการจัดเก็บขยะรีไซเคิลเข้าสู่ระบบ
โดยเฉพาะถุงพลาสติก
เพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่หลายชุมชน เช่น ชุมชนหมู่บ้านเอื้ออาทรระยอง (วังหว้า)
เทศบาลตำบลเมืองแกลง ที่สามารถขยายธุรกิจของธนาคารขยะรีไซเคิล ชุมชน เรื่องการจัดเก็บพลาสติกเพิ่ม
โดยสร้างรายได้เพิ่มกว่า 10,000 บาทต่อเดือน
นายสมชาย
รุ่งเรือง ท้องถิ่นจังหวัดระยอง กล่าวว่า
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดระยอง สนับสนุนการดำเนินโครงการ PPP Plastic เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการขยะภายในองค์กรภาครัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนและภาคประชาสังคม ให้มีประสิทธิภาพ
โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในการผลิตและบริโภคเกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยระยะแรก
ดำเนินการในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่อง จำนวน 19 แห่ง
และจะขยายผลให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดระยองในลำดับต่อไป
นอกจากนี้ ได้จัดให้มีโครงการประกวดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและจังหวัดระยอง
เพื่อเป็นการกระตุ้นและขับเคลื่อนการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยงานในระดับพื้นที่
ที่ใกล้ชิดประชาชน จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1) โครงการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
“จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 (จำนวน 12 แห่ง)
2)
โครงการ 1 จังหวัด 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1
โครงการต้นแบบเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (จำนวน 8
แห่ง)
3)
โครงการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2562
(จำนวน 12 แห่ง)
“การดำเนินการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย
ที่ช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการขยะในทุกระดับ
หากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
เมื่อร่วมมือกันดำเนินการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
บนฐานของการที่ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและคุ้มค่าตามโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน
ซึ่งเหล่านี้สามารถที่จะแบ่งปันและขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ในอนาคตต่อไป” ท้องถิ่นจังหวัดระยอง
กล่าวสรุป
06.11.62
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
ธพัศ แสงนุภา โทร. 063-363-4647
Email: thapat.s@pttgcgroup.com
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น