พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด จับมือ
มูลนิธิโครงการหลวง
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง ตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด
(มหาชน) มูลนิธิโครงการหลวง
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อแสดงเจตนารมฌ์และความร่วมมือสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกสู่ประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน
บันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงซึ่งเป็นหนึ่งความร่วมมือใน
โครงการ Green Project : Save
the World, Save Us by Green Technology อย่างเป็นรูปธรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาพลาสติกเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรตลอดจนถึงการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลผลิตทางการเกษตรสำหรับโครงการดังกล่าวทางมูลนิธิโครงการหลวงเป็นหน่วยงานผู้สนับสนุนให้ใช้แปลงทดลองของโครงการเป็นที่ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในขั้นตอนการเพาะปลูก
และบรรจุภัณฑ์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของโครงการโดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยโดยสนับสนุนค่าจ้างที่ปรึกษาด้านงานวิจัยในการพัฒนาพลาสติกโดยได้ที่ปรึกษาจาก
2 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
และมหาวิทยาลัยนเรศวร และบริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเม็ดพลาสติกของบริษัทเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลาสติก
และพัฒนาสูตรร่วมกับที่ปรึกษาด้านงานวิจัยเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิต ทั้ง3 หน่วยงานร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจฯ
ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่
ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
หม่อมเจ้าภีศเดช
รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงทรงกล่าวว่า “ ตามที่ บริษัท พีทีที โกลบอล
เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ประสงค์จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์พลาสติกคุณภาพใช้ในแปลงผลิตและส่งเสริมพืชเมืองหนาวของเกษตรกรชาวเขาในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง
รวมทั้งยังสนับสนุนบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น มูลนิธิฯ เล็งเห็นว่า ผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้สามารถลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
ทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพพืชผลอันจะเป็นประโยชน์ต่องานพัฒนาพืชเมืองหนาวเป็นอย่างยิ่ง
มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้ร่วมมือในโครงการดังกล่าวโดยได้ให้การสนับสนุนการใช้แปลงทดลองในพื้นที่ของโครงการฯเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทดสอบการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่พัฒนาขึ้นมา โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทางได้นำไปใช้นั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมต้นกล้าขั้นตอนการเพาะปลูก
รวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิโครงการหลวง ทั้งนี้ยังได้สนับสนุนการขยายผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริงกับเกษตรกรในพื้นที่
ตลอดจนการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับสมาชิกเกษตรกรของมูลนิธิโครงการหลวง
ต้องขอขอบคุณ บริษัท พีทีที โกลบอล
เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ที่ร่วมกันพัฒนาโครงการนี้ขึ้นมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดต่อภาคการเกษตรต่อไปในอนาคต”
ศาตราจารย์. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)กล่าวว่า “
สำหรับความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยต่อโครงการดังกล่าวฯ
เรามีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารโครงการวิจัย โดย คัดเลือกนักวิจัย ที่ปรึกษา
และผู้ประสานงาน ร่วมโครงการ รวมทั้งติดตามการดำเนินการของโครงการวิจัยให้เป็นไปตามกรอบการทำงานและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทั้งนี้ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้มีโอกาสร่วมดำเนินงานกับทางบริษัทพีทีที
โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่ปี 2551 โดยครั้งนั้นเป็นการร่วมกันวิจัยและพัฒนาโครงการ
“การพัฒนาพลาสติกชีวภาพเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน (Bioplastics
for sustainable agriculture practice)” เป็นการนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร
ซึ่งผลสำเร็จจากโครงการในครั้งนั้น ต่อยอดการพัฒนางานวิจัยสู่โครงการดังกล่าวในวันนี้
กระผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรภาครัฐและเอกชนได้มาประสานความร่วมมือกัน
เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านการวิจัยและพัฒนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของผืนแผ่นดินเราให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
อีกทั้งสามารถสร้างผลทางเศรษฐกิจสู่ประเทศที่มีอนาคตอันจะส่งผลดีโดยรวมให้กับสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคตครับ
”
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ บริษัท พีทีที โกลบอล
เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นความสำคัญของนวัตกรรม
ซึ่งถือเป็นกุญแจหลักในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญด้านการพัฒนาประเทศและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม
ซึ่งเราเองก็ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา
เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคม
รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมในภาคซึ่งการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ของประเทศจะเป็นในภาคเกษตรกรรมเป็นหลักซึ่งมีความจำเป็นในการใช้พลาสติกในการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากอีกด้วย
พีทีที โกลบอล เคมิคอล ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยรวมถึงสนับสนุนเม็ดพลาสติกของบริษัทฯ
เพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลาสติก และพัฒนาสูตรร่วมกับที่ปรึกษาด้านงานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิต
โดยใช้เทคโนโลยีของบริษัทฯดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวงโดยมีวัตถุประสงค์โครงการฯคือ
1. สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาพลาสติกชีวภาพ
(PLA) สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกพืชและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการเกษตร
ได้แก่ วิจัยและพัฒนาถุงปลูก ถุงเพาะ และพลาสติกคลุมดินโดยใช้พลาสติกชีวภาพ (PLA)และผลกระทบต่อดินที่ปลูกหลังจากการย่อยสลายของ PLA อย่างสมบูรณ์
2. ส่งเสริมและร่วมพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ
(PLA) ที่ใช้ในผลผลิตทางการเกษตรของโครงการหลวง
3. สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาพลาสติก
polyethylene ภายใต้แบรนด์
InnoPlusสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกพืชในโรงเรือน
และบรรจุภัณฑ์ที่ลดปริมาณการใช้พลาสติกลง รวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ให้สามารถคงความสดได้ยาวนานขึ้น
4. สนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
กิจกรรมส่งเสริมการใช้พลาติกชีวภาพสำหรับการเกษตร
และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสมาชิกโครงการหลวงและต่อยอดใช้กับโครงการอื่นๆของโครงการหลวง
ในวันนี้ พีทีที
โกลบอล เคมิคอล พร้อมที่จะร่วมส่งเสริมความร่วมมือทั้งในภาครัฐและเอกชนในการผลักดันการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
ๆ อย่างกว้างขวาง
ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้การดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
รวมถึงการสนับสนุนและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับชุมชน สังคม
ให้สามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไปครับ”
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น