มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันวิทยสิริเมธี GC
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและกลุ่มบริษัทโปลิโฟม ร่วมพัฒนาและส่งมอบ IRAPs SHaRE-aGIVeR หรือ“หุ่นยนต์แบ่งปัน” หุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์
ให้แก่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และ
โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์
กรมแพทย์ทหารเรือ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยสะสมทั่วโลกทะลุเกิน 8,000,000
คน ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตจำนวนเกิน 400,000 คน เหตุการณ์นี้นับเป็นวิกฤตการณ์ที่แพร่ขยายไปทั่วทุกมุมโลก ทำให้นักวิจัยยังคงมุ่งมั่นในการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่เราทุกคนไม่ควรนิ่งนอนใจ
ในวันนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และบริษัท พีทีที โกลบอล
เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และกลุ่มบริษัทโปลิโฟม จึงร่วมกันพัฒนาส่งมอบหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์
/ IRAPs SHaRE-aGIVeR (ไอ-ราฟ แชร์-อะ-กิฟ-เวอร์) / หรือ
“หุ่นยนต์แบ่งปัน” ให้แก่คณะแพทยศาสตร์วชิร
พยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์
กรมแพทย์ทหารเรือ นำไปใช้งานในโรงพยาบาล เพื่อลดการสัมผัส เว้นระยะห่าง (Physical
Distancing) และป้องกันการแพร่เชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง
ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า
สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 นี้
จึงได้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์ / IRAPs SHaRE-aGIVeR (ไอ-ราฟ แชร์-อะ-กิฟ-เวอร์) / หรือ “หุ่นยนต์แบ่งปัน” เพื่อนำไปใช้งานในโรงพยาบาล
โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบความแม่นยำขั้นสูง
หรือศูนย์ IRAPs ของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด
(มหาชน) หรือ GC สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และกลุ่มบริษัทโปลิโฟม ซึ่งจุดเด่นของ “หุ่นยนต์แบ่งปัน” สามารถช่วยเหลือทางการแพทย์ได้ในเรื่องการขนส่งเวชภัณฑ์ต่าง
ๆ และทำให้คุณหมอหรือพยาบาลสามารถสื่อสารทางไกลกับคนไข้ได้ หุ่นยนต์มีความสามารถในการสร้างแผนที่และจดจำตำแหน่งที่ต้องปฏิบัติงาน
และเมื่อได้รับคำสั่งจะเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ
พร้อมกับความสามารถในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางในระหว่างการเคลื่อนที่ได้
ไม่ว่าสิ่งกีดขวางนั้นจะเป็นแบบอยู่กับที่ หรือสิ่งกีดขวางที่กำลังเคลื่อนที่อยู่
คุณปฏิภาณ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า
จากภาวะวิกฤตจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เราประสบกันทั่วโลกนั้น GC ในฐานะภาคเอกชนที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความปลอดภัย
จึงได้ประสานงานความร่วมมือกับพันธมิตรทั้ง 4
องค์กรร่วมศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ให้ตรงกับความต้องการของแพทย์
จึงเป็นที่มาของความร่วมมือในการพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบ (Prototype) และในอนาคตจะมีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D
Printing Technology) ด้วยเม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเกรดพิเศษ
(PLA) ทำให้มีความเหมาะสำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีความแข็งแรง
และยืดหยุ่น ไม่แตกหักง่าย
มาผลิตเป็นส่วนประกอบของถาดวางเครื่องมือและอาหารของหุ่นยนต์
รวมถึงสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหุ่นยนต์ นอกจากนี้ ยังมี สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)
เป็นผู้สนับสนุน Software ออกแบบและสร้างระบบ Web
Page ที่สามารถบันทึกข้อมูลของคนไข้ ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับคนไข้มีความชัดเจนและไม่ผิดพลาดในการรักษา
การดำเนินงานในครั้งนี้
สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่นำความถนัดและความสามารถที่ตนเองมีออกมาใช้เพื่อช่วยเหลือภาคสังคมร่วมกัน
จึงเป็นที่มาในวันนี้ ที่ GC กับพันธมิตรได้ร่วมมือกันพัฒนาและส่งมอบหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์
/ IRAPs SHaRE-aGIVeR (ไอ-ราฟ แชร์-อะ-กิฟ-เวอร์) / หรือ
“หุ่นยนต์แบ่งปัน” ให้แก่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
พลเรือตรีเกิดศักดิ์ วีระโยธิน
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กล่าวว่า
ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะดีขึ้น แต่ยังคงมีการติดและการแพร่เชื้อจากโรคอื่นๆ
อีกมากมายภายในโรงพยาบาล ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนยังคงตระหนัก ให้ความสำคัญ
และยังคงร่วมมือกันในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรับมือและเตรียมพร้อมตลอดทุกช่วงเวลา
สำหรับหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์ / IRAPs SHaRE-aGIVeR (ไอ-ราฟ
แชร์-อะ-กิฟ-เวอร์) / หรือ “หุ่นยนต์แบ่งปัน” นี้ ทางโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
จะนำไปใช้ในพื้นที่ของโรงพยาบาลเพื่อช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค
(Patient Under Investigation : PUI) รวมถึงผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล
ถือเป็นการแบ่งเบาภารกิจ อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลผู้ป่วย
โดย “หุ่นยนต์แบ่งปัน” สามารถส่งสิ่งของ
ยา เวชภัณฑ์ อาหาร แฟ้มทะเบียนประวัติคนไข้เวลาเดินตรวจ ฯลฯ ไปยังจุดต่างๆ
ที่ได้กำหนดไว้แบบอัตโนมัติ
มีความสามารถในการลดความเครียดให้กับผู้ป่วยได้ด้วยการเปิดเพลงหรือเปิดวีดีโอต่างๆ
และยังสามารถทำการประชุมทางไกล (Teleconference) ระหว่างคนไข้กับหมอได้อีกด้วย
ถือเป็นการเว้นระยะห่าง (Physical Distancing)
เพื่อลดการสัมผัสและป้องการการแพร่เชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง
การผสานความร่วมมือในวันนี้จากภาคการศึกษา
ภาคเอกชน ถือเป็นการทำงานเชิงรุกร่วมกัน
และถือเป็นอีกขั้นของความร่วมมือที่มุ่งหวังให้บุคลากรทางการแพทย์ของไทย
และคนไทยทุกคนผ่านช่วงวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 และเชื้อโรคต่างๆ
ไปด้วยกันอย่างปลอดภัย
หน่วยงานสื่อสารองค์กร
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น