(ส.ปชส.ระยอง) ผู้บริหารราชการในจังหวัดระยองเข้าชมนิทรรศการอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน
รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยองนำหัวหน้าส่วนราชการ(ผู้แทน)หลายหน่วยงานในจังหวัดระยอง เยี่ยมชมนิทรรศการอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียนที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา กรุงเทพมหานคร
สายวันที่
๕ พ.ย.๕๖ ที่ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐
พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายทรรศนะ วิชัยธนพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
เป็นผู้นำหัวหน้าส่วนราชการ(ผู้แทน)โดยมีผู้แทนหลายหน่วยงาน ของจังหวัดเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการงานอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน
เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งจัดโดยกระทรวงพาณิชย์ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยและจังหวัดระยองรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ท่ามกลางผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดระยอง เข้าร่วมชมนิทรรศการครั้งนี้
นายทรรศนะ วิชัยธนพัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
กล่าวว่า งานอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๘
ตุลาคม ถึง ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ให้เกิดความตื่นตัวและนำเสนอแนะกลยุทธ์ในการปรับตัวแก่ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะเอสเอ็มอี
รวมทั้ง แสดงโอกาสการทำธุรกิจและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าของไทยในอาเซียน
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยและจังหวัดระยอง รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ที่จะก่อให้เกิดความตระหนักรู้ และการเข้าถึงข้อมูลของสาธารณชนเข้าใจง่ายได้ประโยชน์อย่างทั่วถึงเกี่ยวกับการรวมตัวไปสู่ประชาคมอาเซียน
ซึ่งมี ๓ เสาหลัก ได้แก่ เสาประชาคมการเมืองและความมั่นคง เสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
และเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
โดยจะเน้นเสาเศรษฐกิจ AEC เป็นหลัก
เนื่องจากมีผลโดยตรงต่อปากท้องคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs
เกษตรกร ประชาชนทั่วไป นักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้นำประโยชน์จาก AEC
ไปใช้ในการต่อยอดการทำมาหากิน รวมทั้งข้าราชการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างสอดคล้อง
โดยงานอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน
ครั้งนี้ รัฐบาลมอบให้กระทรวงพาณิชย์จัดขึ้นเพื่อสร้างคลังแห่งรู้ลึกและรู้จริงเพื่อสานต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยในประชาคมอาเซียน
โดยเปิดเผยความกระจ่างในแนวคิดการสร้างความเข้มแข็งให้กับคนไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
๑๐ ประเทศ ผ่านนิทรรศการ และเวทีสัมมนาบอกเคล็ดลับ การเพิ่มทักษะการค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อสร้างความเป็นเป็นเศรษฐีไทยในระดับอาเซียน โดยดูตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในอนาคตจาก
๑๒ กลุ่มธุรกิจศักยภาพ ในงาน “อนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน”ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเศรษฐกิจโลกในช่วง ๔ ถึง ๕ ปีที่ผ่านมา
และต่อไปในอนาคต จะเปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
มีทั้งโอกาสและความท้าทาย ซึ่งเราคนไทยจะต้องสร้างภูมิคุ้มกัน
เสริมพลังร่วมกันอย่างแข็งขัน เพื่อขยายโอกาสการทำธุรกิจการค้าให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
โดยเฉพาะการใช้กลไก การเป็นประชาคมอาเซียน ASEAN Community ซึ่งรัฐบาลและภาคเอกชนได้ผนึกกำลังร่วมกันเตรียมพร้อม
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ทำให้คนไทยกินดีอยู่ดีมีความเสมอภาค
และเป็นธรรมตลอดไป โดย นายกรัฐมนตรีจะเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ในการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม เชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านASEAN
พร้อมไปกับสนับสนุนธุรกิจไทยรวมทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก SMEs
ในแต่ละท้องถิ่น โดยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทั้งสินค้า และบริการ รวมทั้ง OTOP
ให้มีมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรม
สำหรับอนาคตของธุรกิจไทย และที่สำคัญคือ
เสริมสร้างความเชื่อมั่นในบรรยากาศการค้าการลงทุนไทยโดย พัฒนาโครงสร้างการศึกษาสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยในอนาคต
และปรับกระบวนทัศน์ระบบราชการให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตที่จะก้าวหน้าไปในหลาย
ๆ มิติ ซึ่งขณะนี้คนไทยต้องปรับแนวคิดว่า ๑๐ ประเทศอาเซียนคือครอบครัวเรา แม้ยังมีถึง
๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ด้วยเหตุที่ว่าการรวมกลุ่มของอาเซียนไม่ได้สิ้นสุดที่วันนั้น แต่ ASEAN
ทุกประเทศ จะต้องร่วมมือกันในทุก ๆ ด้าน ให้มีความใกล้ชิดและเข้มแข็งยิ่ง
ๆ ขึ้น เพื่อขยายโอกาสการค้าและการแข่งขันร่วมกัน เพื่อก้าวสู่เขตการค้าเสรี กับอีกหลายตลาดที่มีศักยภาพ
และสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจไทยต่อไป เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ภายใต้กรอบ FTA-ASEAN + ๖ และอื่นๆ
เช่น สหภาพยุโรป รวม ๒๘ ประเทศ และ Trans Pacific Partnership หรือ TPP ที่ครอบคลุมตลาดในทวีปอเมริกา ทำให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการทำการค้าและการลงทุนที่น่าสนใจยิ่ง
เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่สัมผัสได้ ที่รัฐบาลตั้งใจเป็นอย่างมากที่จะใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบอกกล่าวให้คนไทยทุกคนได้รู้ว่า
เราจะได้อะไรจากประชาคมอาเซียน เพื่อให้คนไทยได้ก้าวไปสู่อนาคตแห่งโอกาสที่เปิดกว้างพร้อมกันอย่างถ้วนหน้า
ภายในงานได้นำเสนอภาพรวมของประชาคมอาเซียน
ทั้ง ๓ เสา มีนิทรรศการอุตสาหกรรมและธุรกิจศักยภาพหลักของไทย Cluster นำเสนอความโดดเด่น
และวิสัยทัศน์ของโอกาสอนาคตธุรกิจไทย มี ๑๒ กลุ่ม ได้แก่ เกษตร อาหาร การต่อเรือ
ยานยนต์ ก่อสร้าง ยางพารา ท่องเที่ยว สิ่งพิมพ์/บรรจุภัณฑ์ แฟชั่น สุขภาพ Logistics
พลังงานทางเลือก c และการสัมมนา ๑๙ หัวข้อ เกี่ยวกับโอกาสและลู่ทางการค้าการลงทุนโดยทูตพาณิชย์
และนักธุรกิจไทยไปลงทุนใน ASEAN การจัดคูหาอาเซียน ASEAN
Pavilion ของสถานทูตประจำประเทศไทย แสดงความโดดเด่นและศักยภาพของแต่ละประเทศ
การให้บริการคลินิกให้คำปรึกษา โดยมี ๔ ด้านหลัก ได้แก่ การวางแผนการทำธุรกิจ
กฎหมาย-ภาษี-บัญชี การเงิน และการตลาด งานแสดงสินค้า The Best of Thailand มี ๔๐ คูหา เป็น OTOP Premium + ชิ้นงานของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ
SACICT และ การจำหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด
และกิจกรรมให้ความรู้และความบันเทิง อาทิ การตอบคำถาม ชิงรางวัล I-Pad mini
ทุกวัน
ซึ่งงานอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียนครั้งนี้
เป็นมหกรรมนิทรรศการและศูนย์แสดงข้อมูลเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนทำความรู้จักกับความเป็นอาเซียนและมองเห็นโอกาสในการปรับตัวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
โดยภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรมจากโซนต่างๆ จำนวน ๗ โซนสำคัญ ได้แก่ โซน ASEAN COMMUNITY PRESENTATION นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอย่างรอบด้าน
โซนนิทรรศการคัสเตอร์ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิสัยทัศน์การพัฒนาวงการอุตสาหกรรมทั้ง
๑๒ คัสเตอร์ โซนคลินิคให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาธุรกิจสู่ตลาดอาเซียนจากผู้เชี่ยวชาญพิเศษหลากหลายสาขาทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล
โซน ASEAN PAVILION มีการแนะนำประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมนำเสนอสินค้าเชิงธุรกิจที่โดดเด่นในแต่ละประเทศ
โซนกิจกรรมการออกร้านของเหล่าสินค้า OTOP Premium และ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ
โซนเวทีกิจกรรม และกิจกรรมสัมมนา จากหน่วยงานชั้นนำของประเทศ ที่นำเสนอหัวข้อพร้อมวิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะมาร่วมไขปัญหาการทำธุรกิจพร้อมเปิดช่องทางในตลาดอาเซียน
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีสัญญาณซึ่งเป็นเวทีที่บอกเคล็ดลับการค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อสร้างความมั่นคงในระดับอาเซียน พร้อมทั้งเศรษฐกิจโลกในช่วง ๔ ถึง ๕ ปีที่ผ่านมา
และต่อไปในอนาคต จะมีการเปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
ซึ่งไทยจะต้องใช้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเสริมพลังในการขยายโอกาสการทำธุรกิจการค้า
ซึ่งรัฐบาลและภาคเอกชนได้ผนึกกำลังร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยได้เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม
เชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน พร้อมกับสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทยให้มีมูลค่าเพิ่ม
และที่สำคัญคือสร้างความเชื่อมั่นในบรรยากาศการค้าการลงทุนในประเทศไทย รวมถึงพัฒนาโครงสร้างการศึกษาให้เยาวชนไทยต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ อาเซียนจะต้องรวมกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในกลุ่มอาเซียน เผยไทยมีความเหมาะสมในการผลักดันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของอาเซียน-ความพร้อมภาครัฐตั้งอาเซียนยูนิตในทุกกระทรวง
สำหรับการจัดนิทรรศการอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน
ถือเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ หรืออีกเพียง
๒ ปีเศษ ประเทศไทยก็จะก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนคนไทยทั่วประเทศจะได้รับความรู้และความเข้าใจว่า
เมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจะได้อะไรจากประชาคมอาเซียน โอกาสใหม่ของคนไทยที่จะเกิดขึ้นคืออะไร
รวมถึงการเตรียมตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลและหน่วยงานต่าง
ๆ ได้มีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเตรียมงานมาเป็นระยะ ๆ อยู่แล้ว แต่วันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการบูรณาการการจัดงานทั้งหมดจากทุกกระทรวงและภาคเอกชน
เพื่อนำเสนอกับประชาชนเป็นลักษณะของภาพรวมในการบูรณาการทั้งหมด
ทั้งเรื่องความพร้อม ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งการรวมพลังและผนึกกำลังของประชาคมอาเซียนหมายถึงการรวมกันของ
๓ เสาหลัก คือประชาคมอาเซียนทางด้านการเมือง-ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งได้มีการรวม ๓ เสาหลักเข้ามาอยู่ในงานนี้และถือเป็นการบูรณาการจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
และปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง คือ พันธะสัญญาของประชาคมอาเซียนที่ได้ร่วมตกลงกันเพื่อทำให้เกิดความเชื่อมโยงและสมบูรณ์มากขึ้นภายหลังปี
๒๕๕๘ ประกอบด้วย ๔ ด้านคือ ด้านตลาดและฐานการผลิต ที่จะขยายตลาดหรือฐานการผลิตจากในประเทศเป็นฐานของอาเซียน
๖๐๐ ล้านคน ด้านการเชื่อมโยงทางกายภาพของประชาคมอาเซียนทั้งทางบก ทางอากาศ
และทางน้ำ เพื่อให้ประชาชนและสินค้าต่าง ๆ เดินทางไปมาหาสู่กันได้
ด้านของกฎระเบียบต่าง ๆ ในการให้บริการ ทั้งด่านศุลกากร
ระบบการคุ้มครองและประกันสังคมแรงงาน ระบบการคุ้มครองผู้บริโภค
ที่จะมีการเชื่อมโยงและปรับปรุงให้สอดคล้องกัน ด้านการเชื่อมโยงคนสู่คน
การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากนานาประเทศ หลักสูตรการศึกษาและวัฒนธรรมอาเซียนที่จะมีความผูกพันและเชื่อมโยงประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน
๑๐ ประเทศมากขึ้นด้วย ซึ่งประเทศไทยถือว่าเราเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบทางด้านของทำเลที่ตั้ง
ก็จะกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอาเซียนอื่น ๆ ด้วย ทั้งทางบก ทางน้ำ
ทางอากาศ ทำให้ประเทศไทยเรามีความเหมาะสมที่จะเป็น Gateway
สู่อาเซียนในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของอาเซียนเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
ก็สอดคล้องกับที่รัฐบาลได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ๒ ล้านล้าน เพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประชาคมอาเซียนด้วยเช่นกัน
ในประเด็นสำคัญการจัดนิทรรศการครั้งนี้ จึงฉายภาพของกลุ่มประชาคมอาเซียนที่มีความท้าทายอยู่หลายประการทั้งเรื่องของเศรษฐกิจโลกที่มีความซับซ้อนผันผวน
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
หรือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความห่วงใยด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องรวมกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในกลุ่มอาเซียน
และรวมถึงการลดผลกระทบของความท้าทายนี้ ซึ่งประเทศไทยได้ริเริ่มการหารือการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตั้งแต่ปี
ค.ศ.๒๐๐๐ หรือ พ.ศ.๒๕๔๓ ด้วยความคิดริเริ่มเชียงใหม่พหุภาค ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองที่เป็นครั้งแรกของการทำงานร่วมกัน
และในวันนี้นอกเหนือจากความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน ก็มีความร่วมมือในกรอบเสถียรภาพของนอกภูมิภาคด้วยเช่นกัน
ทั้งการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ อาเซียน+๓ หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
หรือ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก และความร่วมมืออาเซียนกับประเทศคู่ค้า
เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นการเชื่อมโยงจากภูมิภาคอาเซียนร่วมกับการเชื่อมโยงของเขตเศรษฐกิจนอกภูมิภาค
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายจะต้องมีผลกระทบทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
โดยในส่วนของรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เตรียมความพร้อมในหลาย
ๆ ภาคส่วนด้วยกัน เช่น ขณะนี้ได้มีการตั้งอาเซียนยูนิตขึ้นในทุกกระทรวง และมีกลไกการทำงานเรื่องอาเซียนเพื่อทำให้มีความชัดเจนในการบูรณาการระหว่างกันมากขึ้น
ซึ่งในการตั้งยูนิตนี้ประชาชนจะได้เห็นมากขึ้นในปีหน้า เพื่อที่จะประสานงานและบูรณาการเรื่องของอาเซียน
รวมถึงจะมีการประชุมระดับปฏิบัติการในระดับรัฐมนตรี ระดับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง
ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยสิ่งที่ต้องเร่งคือเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน
ในนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการเริ่มในการหารือพูดคุยกัน ทั้งการพัฒนาโซนนิ่งภาคการเกษตร
โซนนิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งเสริมเอสเอ็มอีและโอทอป
การเชื่อมโยงการพัฒนาด่านชายแดน การพัฒนาโครงสร้างของการเชื่อมโยงสู่การค้า การเตรียมตัวของบุคลากรด้านการศึกษา
นอกจากนี้ จะมีการบูรณาการการอำนวยความสะดวกในการพัฒนาด่านการค้า การพัฒนากฎระเบียบต่าง
ๆ ปรับปรุงแก้ไขยกระดับกฎหมายให้เป็นกฎหมายที่เป็นมาตรฐานสากล และเป็นกฎหมายที่เสริมสร้างบรรยากาศในเรื่องของการค้า
การลงทุน เพื่อให้นักธุรกิจมีโอกาสได้พัฒนาในเรื่องการส่งเสริมการลงทุน ทั้งการเชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนประเทศไทย
หรือนักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ และส่งเสริมเรื่องกฎหมายการลงทุนของประเทศเพื่อนบ้าน
การรักษาความปลอดภัย การดูแลนักท่องเที่ยว
และกฎหมายความมั่นคงป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือการเตรียมความพร้อมของภาครัฐทุกหน่วยงานเพื่อที่จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ในท้ายที่สุดปัจจัยความสำเร็จจึงอยู่ที่ความร่วมมือของภาครัฐกับภาคเอกชนว่า
มีการหารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน หรือ กกร. อยู่เป็นระยะ ทั้งสภาหอการค้า
สภาอุตสาหกรรม สถาบันการเงินการธนาคาร เพื่อเร่งปรับตัวในการที่จะใช้โอกาสของการเปิด
AEC ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจใหม่
ๆ และการศึกษาต้นทุนการปรับโครงข่ายการผลิตในภูมิภาค หรือห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมและฐานการผลิต
รวมถึง การปรับกลยุทธ์รูปแบบการตลาดที่จะต้องสอดคล้องกับตลาดใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงไป
จาก ๖๐ กว่าล้านคนเป็น ๖๐๐ ล้านคน ฉะนั้น ความเข้าใจในวัฒนธรรม ความเข้าใจในกฎหมายการค้าจึงเป็นความจำเป็นสำหรับภาคเอกชน
ทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ซึ่งในส่วนนี้ภาครัฐจะทำงานร่วมกันเพื่อให้ความรู้กับภาคเอกชน
ขณะเดียวกันยังมีการบูรณาการกับภาคเอกชนในแต่ละอุตสาหกรรมที่ภาครัฐจะร่วมกับเอกชน เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าให้ตอบสนองแต่ละกลุ่มของตลาด
และตอบสนองต่อมาตรฐานของแต่ละประเทศด้วย นอกจากนี้ ความเข้าใจทางวัฒนธรรม ความเข้าใจทางด้านมาตรฐานทางศาสนา
ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ภาครัฐได้ร่วมกันทำงานกับภาคเอกชน ซึ่งในวันนี้ได้มีศูนย์ให้ข้อมูลกับภาคเอกชนพร้อมรับฟังความต้องการของภาคเอกชนและพี่น้องประชาชน
เพื่อภาครัฐจะได้ร่วมกันเตรียมงานและบูรณาการเตรียมความพร้อมต่อไป
ในมิติของภาคประชาชนที่จะได้รับประโยชน์จากงานอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียนครั้งนี้
การเตรียมพร้อมของภาคประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะเข้ามามากขึ้น
ดังนั้นประเทศไทยจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลายของชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มประเทศที่จะเข้ามา
ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องเพิ่มความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนสู่คน
และทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเอง โดยในส่วนนี้ภาครัฐได้เตรียมความพร้อมในการเร่งพัฒนาทักษะความเข้าใจด้านภาษา
การทำธุรกิจร่วมกัน รวมถึงการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานด้วย ทั้งนี้ สิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องเตรียมตัวอย่างมาก
ภาครัฐจึงต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาชน ซึ่งเป็นที่มาของการจัดนิทรรศการในวันนี้ที่เป็นการร่วมผนึกกำลังเป็นครั้งแรกของทุกภาคส่วน
จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาร่วมชมนิทรรศการอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน
เพื่อจะได้มีโอกาสรับทราบและเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียนร่วมกัน
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานงานอนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน
ได้ตอกย้ำภาพรวมในมิติของการบูรณาการที่แสดงออกด้วยนิทรรศการในการให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
โอกาส และความท้าทาย รวมถึงการให้ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ
ณ ปัจจุบันรวมทั้งเป้าหมายในอนาคต อาทิ Agriculture, Food, Rubber and
Rubber Wood ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะให้คำปรึกษาด้านการวางแผนธุรกิจ
ภาษีและกฎหมาย การเงิน และการตลาดในอาเซียน และยังมีกิจกรรมพิเศษโดยการจัดสัมมนาเชิงวิชาการและการเสวนา
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับโอกาสการค้าและการลงทุนในอาเซียน โดยมีวิทยากรจากทั้งภาครัฐและเอกชน
หมุนเวียนให้ความรู้ทุกวัน วันละ ๒ รอบ เช้า-บ่าย พร้อมทั้งมีการจำหน่ายสินค้า OTOP
Premium, SACICT และสินค้าธงฟ้าราคาถูกไปพร้อมกันด้วย
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น